Architecture of Bangkok

Architecture of Bangkok

สถาปัตยกรรมรอบกรุง

หากย้อนเวลากลับไปสู่อดีต ประมาณ 100 ปี เห็นจะได้ เราจะรู้ว่า อารายธรรมยุโรปเข้ามาในประเทศไทยมากมาย สถาปัตยกรรมรอบกรุง จึงมีหลายอาคาร หลายตึก ที่เป็นสถาปัตยกรรมยุโรป ทำให้คนรุ่นปัจจุบันได้ศึกษา จากร่องร้อยในอดีต ผมเห็นแล้วก็อดไม่ได้ ที่จะชื่นชมความเก่งของ สถาปนิก และช่างสมัยนั้น

ผมปักหมุดไว้ที่ รอบกรุงเก่าของ สยามประเทศ เลยละกันครับ (พิกัด : เขตดุสิต) ตั้งเด่นเป็นสง่า อยู่กลางเมือง พระที่นั่งหินอ่อนเพียงองค์เดียวในประเทศไทย

บ้านโซวเฮงไถ่ ปัจจุบันเป็น โรงเรียนสอนดำน้ำและร้านกาแฟ (พิกัด : ตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ) ภายในบริเวณบ้านทำให้เราได้เห็นสถาปัตยกรรมจีนที่มีอิทธฺพลต่อประเทศไทย

วังสีเหลืองอร่าม สถาปัตยกรรม แบบเรอเนซองส์ ผสมผสานกับลวดลายศิลปะแบบนีโอ-บารอก ประตูวังสร้างด้วยเหล็กดัดและเสาปูนประดับลวดลายปูนปั้นที่งดงาม กึ่งกลางสนามมีน้ำพุประดับขอบบ่อด้วยรูปเงือกฝรั่งชายหญิงและสัตว์น้ำต่างๆ ตั้งเด่นเป็นสง่า ริมแม่น้ำเจ้ายา บนพื้นที่ 33 ไร่ (พิกัด:เขตพระนคร) ปัจจุบันเป็น พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

“บ้านนรสิงห์” ถูกสร้างขึ้นมา ในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ Venetian Gothic architecture อันเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะของเมืองเวนิส (Venice) ประเทศอิตาลี ออกแบบโดย มาริโอ ตามาญโญ (Mario Tamagno) และ อันนิบาเล ริก็อตตี (Annibale Rigotti) แต่สร้างยังไม่ทันเสร็จก็มีเหตุต้องกลับอิตาลี หากพูดถึง “บ้านนรสิงห์” หลายคนอาจจะไม่คุ้นหู ซึ่ง บ้านพระราชทาน ของพลเอก พลเรือเอก มหาเสวกเอก จางวางเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการมหาดเล็ก และผู้บัญชาการกรมมหรสพ (พิกัด : เขตดุสิต) ปัจจุบัน คือ ตึกไทยคู่ฟ้าธรรมเนียบรัฐบาล

ภายในวังท่าพระ ที่ปัจจุบันเหลือให้เราได้เห็นประตูวัง นั้นคือ ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยศิลปากร และยังมีอาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมสวยงาม ซ่อนอยู่ในนั้น เป็นตึกสองชั้น มีเฉลียงหลังหนึ่งหันเข้าหาอีกหลังหนึ่ง ส่วนหลังนอกนั้นอยู่ข้างสวนแก้ว ตึกหลังในที่มีเฉลียงทำเรียบกว่าหลังนอก และมีเสาทึบ หัวเสาเป็นแบบศิลปะโรมัน ช่องคูหาด้านล่างเป็นช่องโค้ง มีการตกแต่งที่ส่วนต่าง ๆ ภายนอกอาคารเล็กน้อย ส่วนตึกหลังนอกมีรูปทรงทึบกว่า มีการตกแต่งผิวหนังโดยการเซาะเป็นร่องในชั้นล่าง ส่วนชั้นบนผนังเรียบ มีเสาติดผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตูต่าง ๆ ด้วยลายปูนปั้นหรือตีตารางไม้ไว้ในช่องแสงเหนือประตูบางส่วน ตึกหลังนอกมีกันสาด มีเท้าแขนรับกันสาดทำอย่างเรียบ ๆ และประดับชายคาด้วยลายฉลุไม้ (พิกัด: มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่าพระ)

อาคารไปรษณีย์กลางแห่งนี้ก่อสร้างเป็นทรงกล่องสี่เหลี่ยมเรียบเกลี้ยง รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) แนวนีโอคลาสสิก (Neo-Classic) เป็นการรักษาความคลาสสิคของเดิมไว้ และเพิ่มเติมของใหม่เข้าไป ได้อย่างไม่ทำลายซึ่งกันและกัน ผสมกลมกลื่นกันได้อย่างลงตัว นอกจากเป็นอาคารทางราชการแล้ว ในอาคารด้านหลังยังเป็น ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ (Thailand Creative and Design Center) หรือ TCDC  (พิกัด : ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก)

โรงภาษีร้อยชักสาม ชื่อดูเรียบๆ เข้าใจง่าย แบบ 100 ชักออก 3 (ร้อยละ3) อันนี้ดูคุ้นหูกว่า แต่ดูรูปสถาปตยกรรมของอาคารนี้ไม่เรียบอย่างชื่อเลย เป็นอาคารที่มีความสวยงามไม่ว่าเวลาจะผ่าน ไปเป็นร้อยปี อาคารสูง 3 ชั้น มีมุขกลางสูง 4 ชั้น ศิลปะโรมันคลาสสิค เป็นสถาปัตยกรรมทรงนีโอคลาสสิก และสมมาตรตามวิถีของปัลลาดีโอ (Neo-Palladian) เป็นอาคาร 3 หลังเชื่อมต่อกันเป็นรูปตัวไอ โยอาคิม กรัสซี (Joachim Grassi/Gioachino Grassi) สถาปนิกชาวอิตาลีสัญชาติออสเตรียน/ฝรั่งเศส เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้าง  (พิกัด : ซอยเจริญกรุง 36 (โรงภาษี) ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก)

อาคารสีส้มสดใส ตั้งอยู่ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร  ทางทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง อาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น ออกแบบโดย เฮนรี อาลาบาศเตอร์ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2409 โดยมีพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (เพ็ง)เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง  (พิกัด : เขตพระนคร)

สถาปัตยกรรมสวยงามในเขตพระนคร ยังมีให้ชื่นชมกันอย่างสวยงาม บอกเล่าถึงความเป็นมาทั้งในทางสังคมและการปกครอง อาคารที่ทำการกระทรวงกลาโหม ออกแบบโดยนายโยคิม แกรซี เป็นอาคาร 3 ชั้น งดงามด้วยสถาปัตยกรรมโอคลาสิค แบบนีโอปัลลาเดียน ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรม คือผัง มีลักษณะเกือบสี่เหลี่ยมจตุรัสโอบล้อมลาน อาคารหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเน้นทางเข้าด้วยมุขหน้าจั่ว ทรงโรมันตกแต่งด้วยปูนปั้นเป็นรูปช้างอยู่ภายในกงจักรขนาบข้างด้วยคชสีห์และราชสีห์ถือฉัตร ถัดรูปช้างขึ้นไปเป็นตราพระเกี้ยวปิดทอง ส่วนใต้รูปช้างลงมาเป็นรูปชายแพรทาสีฟ้าสดใส (พิกัด : แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร) 

การค้า การขาย ในอดีต จนถึงปัจจุบันยังมีมีเรื่องราวหลายอยากซ่อนอยู่ในนั้น เป็นทั้งประวัติสาสตร์และอารายธรรมที่บ่งบอกเชื้อชาติและการติดต่อค้าขาย จึงทำให้ปัจจุบันเราเห็น สิ่งเหล่านั้น ในสมัยราชการที่ ๕ มีการสร้างอาคารแบบนีโอคลาสสิค แม้จะมีการบูรณะไปแล้ว แต่ก็ยังหลงเหลืออดีตให้เราเห็น (พิกัด : ตลาดท่าเตียน ถนน มหาราช แขวง พระบรมมหาราชวัง )

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *