โบถส์ฝรั่งมาไทย

~ งานสถาปัตยกรรมของ โ บ ส ถ์ สวยๆ
เคยเห็นที่ต่างประเทศมากมาย
ลองมาดูที่ เ มื อ ง ไ ท ย เรากันบ้าง
ก็มีสถาปัตยกรรม โ บ ส ถ์ สวยๆให้ชื่นชมเหมือนกันน้า ^
.

เพราะสำหรับ ผ ม เองอาคารเหล่านี้
คงไม่ใช่แต่ความ ง า ม เท่านั้น
แต่ทุก อ า ค า ร ล้วนมี คุ ณ ค่ า ของสถาปัตยกรรมที่มาจากความ ศ รั ท ธ า ที่ยิ่งใหญ่
และยังมากไปด้วยประวัติศาสตร์และความเป็นมาที่ล้วน
ผ่านก า ล เ ว ล า มาจนถึงทุกวันนี้ ครับ +
..
อยากขอบคุณสถาปนิก และช่างทุกคนที่ฝากสถาปัตยกรรมเหล่านี้ไว้ให้ลูกหลานแบบเราได้เห็น ได้ สัมผัสกันครับ
รวบรวมมาให้ดูครับ ^

1.คริสตจักรไครัสต์เชิช กรุงเทพ

เริ่มก่อตั้งขึ้นเป็นสถานนมัสการภาคภาษาอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1864 ได้ตั้ง ชื่อว่า Protestant Union Chapel โดยทั่วไปเรียกว่า โบสถ์อังกฤษโดยมีสถานที่ตั้งอยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นที่ดินพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในบริเวณท่าเรือกรุงเทพ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับสุสานโปรเตสแตนท์ และเนื่องด้วยพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้าง พระราชไมตรีอันดีกับราชวงค์อังกฤษ
จึงได้ทรงเห็นชอบที่จะให้มีสถานนมัสการสำหรับชาวคริสเตียนฝ่ายโปรเตสแตนท์ในประเทศไทย
ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของคริสตจักรไคร้สตเชิชตั้งแต่สมัยแรกนั้นจำนวนสมาชิก ที่ไปนมัสการที่โบสถ์อยู่เป็นประจำ
ไม่มีกำลังที่จะให้ค่าตอบแทนแก่อนุสาสกได้ ดั้งนั้น มิชชั่นนารีชาวอเมริกันจึงผลัดกันนำการนมัสการพระเจ้า อยู่ทุก ๆ สัปดาห์ บางครั้งก็เป็นมิชชั่นนารีจากคณะแองลิกัน บางครั้งก็มาจาก คณะเพรสไบทีเรียน จนกระทั่งปี ค.ศ.1892องค์กรมิชชั่นได้ส่งอนุสาสกมาประจำที่โบสถ์คนแรก

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1896 บิชอป Labuan, Kuching และแห่งสิงคโปร์ได้เยี่ยมคริสตจักรที่กรุงเทพฯและประกอบพิธีศีลกำลังในคริสตจักร และคริสตจักรก็ได้อยู่ภายใต้การดูแลของบิชอปแห่งสิงคโปร์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ไคร้สตเชิชเป็นคริสตจักรนานาชาติที่มีสมาชิกในที่ประชุมมาจากนานาประเทศ และมีภูมิหลังความเชื่อ จากหลายคณะนิกาย

เมื่อ 7 เมษายน ค.ศ.1904 เนื่องจากคริสตจักรเพิ่มขึ้นจนสถานที่ในการนมัสการไม่เพียงพอ คณะกรรมการคริสตจักรจึงถวายฎีกาแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5) ในการขอพระบรมราชานุญาตให้ เพื่อที่จะสร้างคริสตจักรใหม่ ซึ่งในการถวายฎีกาดังกล่าว ได้รับพระบรมราชานุญาต จากสำนักราชวัง นอกจากนั้น พระบาท-สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ก็ได้พระราชทานที่ดินแห่งใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ 11 ถ.คอนแวนต์ ในปัจจุบันเพื่อสร้างเป็นคริสตจักรแห่งใหม่ที่มีชื่อว่า คริสตจักรไคร้สตเชิช จนถึงทุกวันนี้ เมื่อ 30 เมษายน ค.ศ.1905 ได้ถวายอาคารและเริ่มนมัสการพระเจ้าเป็นครั้งแรกในการเริ่มแรกคริสตจักรไคร้สตเชิชเป็นคริสตจักรสำหรับคนต่างชาติที่พูดภาษาอังกฤษและเป็นที่นมัสการสำหรับคนต่างชาติทั่วไปที่มีโอกาสเยี่ยมประเทศไทยเช่นพระราชินีอลิซาเบทที่ 2 เจ้าฟ้าชายชาร์ล เจ้าหญิงไดอาน่า และอดีตนายยกรัฐมนตรี แห่งประเทศอังกฤษ นางมาร์กาเร็ตแทเชอร์ จากการเริ่มต้นที่คริสตจักรไคร้สตเชิชที่ไดดำเนินงานกับคนต่างชาติ ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษมาเป็นเวลานาน และจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการประกาศข่าวประเสริฐ กับคนในท้องถิ่น รวมทั้งต้องการให้มีการนมัสการในภาษาท้องถิ่น การนัมสการพระเจ้าเป็นภาษาไทยจึงได้เริ่มขึ้นที่คริสตจักรไคร้สตเชิชในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1934 ถึง 1940 โดยใช้หนังสือภาวนา(Prayer Book)ที่ศาสนาจารย์นอร์วู้ด(Reverend Norwood)และผู้ช่วยคนไทยได้แปลขึ้น แต่ก็มีบางช่วงที่แทบจะไม่มีผู้เชื่อคนไทย อยู่ในที่ประชุมของคริสตจักรไคร้สตเชิชเลย

จากนั้นคณะกรรมการพยายามที่จะสรรหาผู้รับใช้พระเจ้าที่พูดภาษาไทยได้ เพื่อเข้าร่วมในทีมงานพันธกิจของคริสตจักรแต่ไม่สามารถสรรหาผู้รับใช้ที่พูดภาษาไทยได้ การริเริ่มนมัสการภาคภาษาไทยจึงไม่สำเร็จ จนกระทั่ง ปี ค.ศ.1991 เมื่อศาสนจารย์ เจอรรี่ คู ได้รับการแต่งตั้งจากไดโอซีส แห่งสิงคโปร์ ให้เป็นผู้ช่วยศิษยาภิบาล(Assistant Priest)การประชุมนมัสการภาคภาษาไทยก็เริ่มขึ้นใน เดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1991 โดยการประชุม จาก 7 คนในห้องประชุมเล็กในคริสตจักรไคร้สตเชิช และขยายออกไปอย่างกว้างขว้าง จนถึงทุกวันน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1994 คริสตจักรไคร้สตเชิชได้จดทะเบียนสังกัดกับคริสตจักรแองลิกันแห่งประเทศไทย โดยสังกัดกับสหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์การใหญ่ทางศาสนาคณะโปรเตสแตนท์ จากนั้น คริสตจักรแองลิกันก็ได้ขยายพันธกิจ ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย เช่น อ.บ้านฉาง จ.ระยอง , อ.สว่าง-แดนดิน จ.สกลนคร และมีคริสตจักรที่สังกัดอีกหลายแห่ง จาก อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่, อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน, อ.เมือง จ.นครราชสีมา, อ.แม่สอด จ.ตาก เราเป็นคริสตจักรแองลิกันในประเทศไทยสังกัดอยู่ในสำนักงานเขตการปกครองแองลิกันสิงคโปร์ (Diocese of Singapore) ขึ้นอยู่กับศาสนมณฑล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Province of South East Asia) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนิกายแองลิกันสากล

2.วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง

วัดคือบ้านของพระ วัดเป็นหัวใจของคริสตชน เป็นบ้านที่คริสตชนสามารถมาร่วมใจกันสาธุการโมทนาคุณพระองค์ เป็นสถานที่อบรมจิตใจสวดภาวนา สอนคนให้รู้จักพระมากขึ้น ด้วยความคิดและความเชื่ออันนี้เองที่คุณพ่ออาแมสตอยได้คิดสร้างวัดขึ้น แท้จริงแล้ว ความคิดนี้มีในสมองตั้งแต่วันแรกที่คุณพ่อรับศีลบวช ประจวบกับเมื่อมาประจำทำงานในเมืองไทย ที่วัดกาลหว่าร์ ได้เห็นสัตบุรุษจำนวนมากต้องยืนร่วมในบูชามิสซาล้นออกมานอกวัด จึงหาทางที่จะทำความคิดนี้ให้สำเร็จจนได้
จากการออกแบบสร้างร่วมกับ นายสิงห์โต ชนวัฒน์ สถาปนิกไทย โดยมีจุดประสงค์ในสมองของคุณพ่อ ในอันที่จะส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานของสถาปนิกไทยควบคู่กันไป จึงได้เริ่มก่อสร้างในวันที่ 1 เมษายน เพื่อจะได้จำได้ง่ายๆ และเพื่อระลึกถึงวันที่คุณพ่อได้จากญาติๆ มาทำงานในประเทศไทย เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ.1955 พระสังฆราชโชแรง ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีวางศิลากฤษ์ ถวายนามว่า “วัดแม่พระฟาติมา” คุณพ่ออาแมสตอยเล่าว่า “…สมัยพ่อเรียนหนังสืออยู่ เคยสนใจติดตามข่าวและบทความเกี่ยวกับอัศจรรย์ของแม่พระฟาติมาเสมอ อีกอย่างเมื่อ แม่พระประจักษ์ที่ตำบลฟาติมา ได้ย้ำถึงสันติภาพของโลก ต้องการให้ทุกคนภาวนา เป็นทุกข์ถึงบาป เพื่อจะได้มีชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างสันติ พ่อจึงคิดว่าสมควรที่สุดแล้วที่เราจะถวายนามวัดใหม่นี้แต่พระแม่เจ้าฟาติมา

3.วัดนักบุญ หลุยส์ กรีญง เดอ มงฟอร์ต กรุงเทพฯ

4. โบสถ์กาลหว่าร์ หรือ วัดแม่พระลูกประคำ (Holy Rosary Church)

เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ทรงกอทิก ตั้งอยู่ที่ซอยวานิช 2 แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โบสถ์แห่งนี้ไม่ใช่โบสถ์หลังแรก หากแต่เป็นโบสถ์หลังที่สาม ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนโบสถ์หลังเดิมที่ถูกทิ้งร้างภายหลังเพลิงไหม้ใหญ่ในปี พ.ศ. 2407 โบสถ์ในปัจจุบันได้สร้างขึ้นโดยคุณพ่อแดซาลส์ ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2434 ปัจจุบันโบสถ์มีอายุรวมแล้ว 127 ปี ถือเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

โบสถ์ได้รับการบูรณะใหญ่ในปี พ.ศ. 2500 ในสมัยที่คุณพ่ออาแมสตอย เป็นอธิการโบสถ์ และถือเป็นการฉลองครบ 60 ปีของโบสถ์กาลหว่าร์อีกด้วย การบูรณะครั้งล่าสุดคือในช่วงปี พ.ศ. 2526 – 2532 โดยมีบาทหลวงประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย เป็นอธิการโบสถ์ในขณะนั้น

ปัจจุบัน โบสถ์กาลหว่าร์ได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์เป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โบสถ์แห่งนี้มีจุดเด่นที่สำคัญคือ รูปปั้น 2 รูปซึ่งเป็นสมบัติเก่าแก่ตั้งแต่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ได้แก่ “รูปแม่พระลูกประคำ” และ “รูปพระศพของพระเยซูเจ้า” โดยทั้งหมดนี้ยังคงเก็บรักษาและใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาจนถึงปัจจุบันนี้

5. วัดซางตาครู้ส, โบสถ์ซางตาครู้ส หรือ วัดกุฎีจีน (Santa Cruz Church)

เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยกุฎีจีนแยกซอยอรุณอมรินทร์ 4
(ถนนเทศบาล สาย 1) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร อาคารวัดแห่งนี้เป็นอาคารหลังที่สามซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนอาคารวัดหลังเดิมที่คับแคบและชำรุดทรุดโทรมมาก โดยมีคุณพ่อกูเลียลโม กิ๊น ดา ครู้ส เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2459 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2539 โดยมีคุณพ่อศวง ศุระศรางค์ เป็นผู้ริเริ่มเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป

ปัจจุบันวัดหลังนี้มีอายุรวมแล้ว 102 ปี
อาคารวัดซางตาครู้สเป็นอาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกเช่นเดียวกับอาสนวิหารอัสสัมชัญ มีจุดเด่นที่ยอดโดมแบบอิตาลีซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับโดมแห่งมหาวิหารฟลอเรนซ์หรือโดมของพระที่นั่งอนันตสมาคม
ภายในเป็นอาคารชั้นเดียว มีจุดเด่นอีกประการคือ การใช้เสาลอยรับน้ำหนักของฝ้าเพดานแบบโค้ง รวมถึงกระจกสีที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา

6. โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล

มาสกลนครต้องมาแวะเที่ยวโบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล โบสถ์ขนาดใหญ่รูปทรงคล้ายเรือ ตั้งอยู่ในชุมชนคาทอลิกแห่งหนึ่งที่บ้านท่าแร่ ซึ่งเป็นชุมชนคาทอลิกที่มีประชากรนับถือคาทอลิกมากที่สุดในประเทศไทยนับหมื่นคน โดยคริสตชนท่าแร่ดั้งเดิมนั้นอพยพมาจากเวียดนามในราวปี พ.ศ. 2427 หรือ ค.ศ.1884
โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลเป็นโบสถ์รูปทรงเรือเนื่องจากเพื่อเป็นการระลึกถึงการอพยพมาตั้งถิ่นฐานของคริสตชนในหมู่บ้านนี้ โดยเมื่อปี ค.ศ.1881 คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ โปรดม และคุณพ่อซาเวียร์ เกโก พระสงฆ์คณะมิสซังแห่งกรุงปารีสได้รับมอบหมายจากพระสังฆราชหลุยส์ เวย์ ให้มาเผยแผ่ศาสนาที่ภาคอีสาน จนกระทั่งเดือนเมษายน ค.ศ.1884 คุณพ่อโปรดม กับคุณพ่อเกโก และ ครูทัน ครูเณรชาวเวียดนามได้เดินทางจากอุบลฯ มายังนครพนมและตั้งกลุ่มคริสตชน แต่เดิมมีชื่อว่าวัดมหาพรหมมีคาแอล หนองหาร ใช้เป็นศาสนสถานสำหรับการรับศีลล้างบาปของคริสตศาสนิกชน
จนเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1971 จึงได้ชื่อ “อาสนวิหารอัครเทวดา มีคาแอล” โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลยังเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลเขตมิสซังท่าแร่ – หนองแสงอีกด้วย

7. โบสถ์วัดเพลง (วัดพระคริสต์พระหฤทัย)

ตั้งอยู่ริมคลองแควอ้อมในอำเภอวัดเพลงซึ่งเป็นอำเภอที่เล็กที่สุดของจังหวัดราชบุรี อยู่ติดกับอำเภออัมพวาของจังหวัดสมุทรสงคราม โบสถ์คริสต์พระหฤทัยหรือโบสถ์วัดเพลงนั้นเป็นลูกวัดของอาสนวิหารพระแม่บังเกิดที่อำเภอบางนกแขวก และเป็นศูนย์กลางของชาวจีนคริสตัง (โรมันคาทอริก) ที่อยู่อาศัยในแถบวัดเพลงนี้ โบสถ์วัดเพลงแต่เดิมเป็นโบสถ์ไม้ ต่อมาได้มีการสร้างโบสถ์หลังปัจจุบัน มีอายุมากกว่า 100 ปี ตัวโบสถ์วัดเพลงตั้งอยู่ติดริมคลองแควอ้อม ด้านหน้าโบสถ์ไปทางคลอง มีสถาปัตยกรรมตะวันตกเป็นแบบโกธิค ด้านหน้าโบสถ์มีอนุสาวรีย์พระหฤทัย ส่วนด้านใน มีแท่นบูชา บัลลังก์เก่าธรรมาสน์ไม้เก่า รูปปั้นสาวกของพระเยซู ตัวกำแพงประดับด้วยกระจกสี ทั้งหมดนำเข้ามาจากทางยุโรปในสมัยนั้น
ส่วนที่มีชื่อเรียกว่าโบสถ์วัดเพลงนั้น มาจากชื่ออำเภอวัดเพลง ที่มีประเพณีชอบเล่นเพลง มีทั้งกล่อมเด็ก เพลงเรือ และเพลงปรบไก่ที่ขึ้นชื่อ จนได้ชื่อของอำเภอว่า “วัดเพลง” แต่ก่อนถ้าล่องเรือผ่านมาในคลองก็จะได้ยินเสียงเพลงทั้งเพลงกล่อมเด็กและเพลงพื้นบ้านดังมาจากบ้านเรือนและใต้ถุนเรือ

8. อาสนวิหารอัสสัมชัญ หรือโบสถ์อัสสัมชัญ (Assumption Cathedral)

เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ และที่ตั้งของโรงเรียน 3 แห่งได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา อาสนวิหารตั้งอยู่ที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นครั้งแรกในรูปแบบทรงไทยโดยบาทหลวงปาสกัล ซึ่งเป็นชาวไทย-โปรตุเกส
โบสถ์หลังปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2452 โดยคุณพ่อเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ อธิการโบสถ์ชาวฝรั่งเศสในขณะนั้น
เพื่อรองรับการขยายตัวของคริสต์ศาสนิกชนที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยมีสถาปนิกชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง โดยมีวัสดุก่อสร้างเช่นหินอ่อนและกระจกสี ซึ่งสั่งมาจากประเทศฝรั่งเศส สิงคโปร์และอิตาลีวิหารได้รับการออกแบบในรูปของงานสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี มีความสูงของหอระฆังตั้งแต่ยอดหอคอยจดพื้น 32 เมตรด้วยกัน ส่วนด้านในผนังและเพดานก็ตกแต่งด้วยจิตรกรรมแบบเฟรสโกและประติมากรรมปูนปั้นที่แสดงถึงเรื่องราวความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ปัจจุบันวิหารมีอายุเก่าแก่อายุกว่า 110 ปี เป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและยังได้การยกย่องให้เป็นหนึ่งในอาสหวิหารที่สวยที่สุดในไทยอีกด้วย

9. โบสถ์วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล จังหวัด จันทบุรี หรือ อาสนวิหารพระแม่ปฏิสนธินิรมล

เป็นโบสถ์ที่มีประวัติการก่อสร้างยาวนานถึง 275 ปี .. ครั้งแรกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2254 บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี โดยคุณพ่อเฮิ้ต โตแลนติโน และบรรดาคาทอลิกชาวญวน จนถึงปี พ.ศ. 2377 ได้มีการย้ายมาสร้างบนฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำจันทบุรี อันเป็นสถานที่ตั้งใน ปัจจุบัน โดยมิได้มีการบันทึกถึงสาเหตุของการย้ายแต่ประการใด และในปี พ.ศ. 2446 ได้ก่อสร้างโบสถ์หลังปัจจุบันขึ้นให้มีขนาดใหญ่กว่าหลังเก่า เพื่อรองรับกับจำนวนคริสตศาสนิกชน ที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก แบบโกธิค ภายในตกแต่งด้วยกระจกสี ที่เรียกว่า สเตนกลาส เป็นภาพนักบุญต่างๆ หลังจากนั้นได้มีการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดงานฉลองโบสถ์คาทอลิกจันทบุรีครบรอบ 75 ปี นับได้ว่า โบสถ์ คาทอลิก แห่งนี้เป็น โบสถ์ ขนาดใหญ่ที่มีความเก่าแก่ และกล่าวกัน ว่า มีความงดงามมากที่สุดในประเทศ (ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) เป็นโบสถ์ที่มีประวัติการก่อสร้างยาวนานถึง 275 ปี .. ครั้งแรกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2254 บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี โดยคุณพ่อเฮิ้ต โตแลนติโน และบรรดาคาทอลิกชาวญวน จนถึงปี พ.ศ. 2377 ได้มีการย้ายมาสร้างบนฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำจันทบุรี อันเป็นสถานที่ตั้งใน ปัจจุบัน โดยมิได้มีการบันทึกถึงสาเหตุของการย้ายแต่ประการใด และในปี พ.ศ. 2446 ได้ก่อสร้างโบสถ์หลังปัจจุบันขึ้นให้มีขนาดใหญ่กว่าหลังเก่า เพื่อรองรับกับจำนวนคริสตศาสนิกชน ที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก แบบโกธิค ภายในตกแต่งด้วยกระจกสี ที่เรียกว่า สเตนกลาส เป็นภาพนักบุญต่างๆ หลังจากนั้นได้มีการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดงานฉลองโบสถ์คาทอลิกจันทบุรีครบรอบ 75 ปี นับได้ว่า โบสถ์ คาทอลิก แห่งนี้เป็น โบสถ์ ขนาดใหญ่ที่มีความเก่าแก่ และกล่าวกัน ว่า มีความงดงามมากที่สุดในประเทศ (ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)

10.อาสนวิหารแม่พระบังเกิด (Nativity of Our Lady Cathedral)

เป็นอาสนวิหารประจำเขตมิสซังราชบุรี ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลบางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม
ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่การบังเกิดของพระแม่มารีย์ ถือเป็นสถานที่สักการะอันศักดิ์สิทธิ์ของคริสต์ชนนิกายโรมันคาทอลิกที่อาศัยอยู่โดยรอบ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) โดยบาทหลวงเปาโล ซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ใช้เวลาก่อสร้างถึง 6 ปี เป็นสถาปัตยกรรมกอทิกที่สร้างด้วยอิฐเผา ผนังฉาบด้วยปูนตำกับน้ำเชื้อมจากอ้อยใสสีดำ ภายในประดับด้วยกระจกสีที่สวยงามจากประเทศฝรั่งเศสที่เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระนางมารีย์พรหมจารีตามคัมภีร์ไบเบิล และภาพของบรรดานักบุญทั้งชายและหญิง มีรูปปั้น ธรรมาสน์ อ่างล้างบาป ขาเทียนลักษณะต่าง ๆ และรูปแกะสลักประดับบานประตู บรรยายเกร็ดประวัติในพระคัมภีร์คริสต์ศาสนาบางตอนปัจจุบันอาสนวิหารแม่พระบังเกิดมีบาทหลวงเสนอ ดำเนินสะดวก อธิการโบสถ์ มีบาทหลวงวัชศิลป์ กฤษเจริญ และบาทหลวงสนธยา ไทยสนธิ เป็นผู้ช่วยอธิการโบสถ์

11.นักบุญยอแซฟ อยุธยา (Saint Joseph Catholic Church, Ayutthaya)

เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยอาคารหลังแรก ตามบันทึกของคณะบาทหลวงและพระคุณเจ้าฟร็องซัว ปาลูว์ บันทึกไว้ว่า ได้สร้างในปี พ.ศ. 2205 หลังจากท่านมาเมืองไทยได้สามปี และมีภาพประกอบแสดงไว้ด้วย[4] โดยมีภาพประกอบแสดงไว้ในหนังสือของท่าน ที่เขียนในปี พ.ศ. 2210-2211 ก็ปรากฏรูปโบสถ์แล้ว ในการบันทึกของบาทหลวงฟร็องซัว-ตีมอเลอง เดอ ชัวซี ที่เข้ามาพร้อมกับคณะทูต กล่าวชมโดยสรุปว่า วัดนี้มีนักเรียนจากนานาประเทศเข้าศึกษา การจัดการดีมาก นักเรียนชาวญวนและเขมรอ่านภาษาละตินได้ดี มีไทยและมอญด้วยเช่นกัน กิจการเจริญดี น่าจะได้ก่อสร้างแบบก่ออิฐถือปูนในอนาคต และในเวลานั้น บันทึกไว้ในวันอาทิตย์ที่ 21 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2228 ก็ยังไม่ได้ก่อสร้างเป็นอิฐ วัดนักบุญยอแซฟ ถือเป็นศูนย์กลางของคริสตชนชาวสยามในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีประวัติมาตั้งแต่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต กับฟร็องซัว ปาลูว์ ได้เข้ามาทูลขอสร้างโบสถ์คริสต์และโรงเรียน สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงพระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งให้ ซึ่งภายหลังเป็นที่รู้จักกันในสมัยนั้นว่า “ค่ายนักบุญยอแซฟ”[5] จนถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โบสถ์ได้ถูกเผาทำลายและถูกปล้นสะดมทรัพย์สินไปหมด บาทหลวงฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว จึงได้กลับมาบูรณะโบสถ์อีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2374 และโบสถ์หลังปัจจุบันคือในสมัยคุณพ่อแปร์โร ที่ได้ทำพิธีเสกในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2426 โบสถ์ได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2547[6] ปัจจุบันตัวโบสถ์หลังปัจจุบันนี้มีอายุแล้วกว่า 135 ปี วัดนักบุญยอแซฟ ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ในปี พ.ศ. 2548 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

12. วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อทรงใช้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเลียนแบบโบสถ์คริสต์
ลักษณะสถาปัตยกรรม พระอุโบสถของวัดนั้นสร้างเลียนแบบโบสถ์คริสต์ โดยภายในประดิษฐาน “พระพุทธนฤมลธรรโมภาส” เป็นพระประธาน โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการทรงออกแบบ โดยลักษณะที่ผสมผสานศิลปะแบบประเพณีนิยม และศิลปะแบบตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายสามัญชน นอกจากนี้ บริเวณฐานชุกชีก็มีลักษณะเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนแบบโบสถ์ และฝาผนังโบสถ์ด้านหน้าของพระประธานนั้น เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 5 ที่ประดับด้วยกระจกสี

วัดคาทอลิก อัครเทวดามีคาแอล ราชบุรี

ดอนกระเบื้อง เป็นตำบลหนึ่งในเขต อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ชื่อ “ดอนกระเบื้อง” นั้นมาจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นที่ดอน แรกเริ่มเป็นป่ารก ชาวบ้านในสมัยแรกเริ่มมักปลูกยาสูบ ทำไร่ ทำนา ประกอบกับสมัยนั้นมีแมลงชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ตัวกระเบื้อง” อยู่เป็นจำนวนมาก มักชอบอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน ตามหลังคาบ้าน ตามร่อง หรือช่องต่างๆ ของบ้าน แต่ในปัจจุบันนี้ไม่พบตัวกระเบื้องนี้แล้ว
เส้นทางแห่งความเชื่อคริสตชน ของวัดอัครเทวดามีคาแอล ดอนกระเบื้อง อาจแบ่งออกได้เป็น 3 สมัย นั่นคือ

1.สมัยปกครองโดย คณะพระสงฆ์มิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) (เริ่ม ค.ศ.1835-1928)
2.สมัยปกครองโดย คณะพระสงฆ์ซาเลเซียน (เริ่ม ค.ศ. 1928-1969)
3.สมัยปกครองโดย พระสงฆ์ไทยพื้นเมืองสังฆมณฑลราชบุรี (เริ่ม ค.ศ. 1969 – ปัจจุบัน)

วัดนักบุญอันนา นครพนม

ตั้งอยู่ที่ หนองแสง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร ซึ่งเป็นถนนเรียบริมฝั่ง แม่น้ำโขง เป็นโบสถ์คริสต์ที่มีความเก่าแก่สวยงามแห่งหนึ่งในจังหวัดนครพนม ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1926 โดยบาทหลวงเอดัวร์ นำลาภ อธิการโบสถ์ วัดนักบุญอันนาหนองแสงนี้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองที่มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่รวมกัน เช่น คนญวน คนไทย คนจีน คนลาวเป็นต้น วัดนักบุญอันนา สวยงามแปลกตา โบสถ์มีลักษณะเป็นหอคอยคู่ เป็นยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า มองเห็นได้ใน ระยะไกล
ซึ่งแต่เดิมด้านข้างของตัวอาคารนี้เป็นโบสถ์ประกอบพิธีทางศาสนา แต่ในสมัยกรณีพิพาทอินโดจีน ถูกฝรั่งเศสทิ้งระเบิดถล่ม เมือง นครพนม ทำให้โบสถ์พังเสียหาย ต่อมาจึงมีการสร้างโบสถ์หลังใหม่เพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวคริสต์สืบต่อมาถึงในปัจจุบัน ซึ่งก่อนวันคริสต์มาส ชาวคริสต์แต่ละชุมชนในจังหวัดนครพนม จะประดิษฐ์ดาวรูปแบบต่าง ๆ แล้วแห่มารวมกันไว้ที่นี่ วัดนักบุญอันนา หนองแสง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ควรอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลาน หากไปชมโบสถ์และเน้น ถ่ายภาพควรจะไปช่วงเช้าภาพจะได้ไม่ย้อนแสง
ข้างโบสถ์มีอาคารที่ทำการศาสนกิจของบาทหลวงนิกายคาทอลิก ก่อตั้งโดยบาทหลวงเอดัวร์นำลาภ ภายหลังจัดตั้งเป็นมูลนิธิบาทหลวง เอดัวร์นำลาภ อาคารหลังนี้มีสถาปัตยกรรมแบบโคโรเนียลก่อด้วยอิฐปูน ภายนอกสีเหลืองสวยงาม สร้างราวปี ค.ศ.1952 การก่อสร้าง ใช้วัสดุก่อสร้างบางอย่างนำเข้ามาจากเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม

Cr.รูปสวยๆจากเวปต่างๆ
ข้อมูล สถานที่ต่างๆจาก Wikipedia
#ใครเคยไปที่ไหนส่งรูปสวยๆมาดูกันครับ

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *